‘Virtual Bank’แข่งแบงก์ดั้งเดิมยาก คนไทยคุ้นชินโมบายแบงก์กิ้ง

ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือ Virtual Bank ในไทยใกล้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่สนใจภายในไตรมาส 4 ปี 2566 และประกาศรายชื่อผู้เล่น 3 รายที่มีศักยภาพภายในสิ้นปี 2567คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้วิเคราะห์ทิศทางของ Virtual Bankในไทยว่า การเกิดธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทยย่อมถูกคาดหวังว่าจะเกิดการพัฒนารูปแบบการให้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มรายย่อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน (Unbanked) และกลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินในระบบ (Underbanked) รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ไปจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการระดับไมโคร (Micro enterprises)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ตลอดระยะเวลาของการประกาศนโยบายการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทย ก็ได้มีกลุ่มผู้เล่นรายใหม่ๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อาทิ กลุ่มโทรคมนาคมและการสื่อสาร กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการเงิน เป็นต้น โดยผู้เล่นหลายรายก็น่าจะทำความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมหรือเป็นผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นการเสริมศักยภาพการแข่งขันในฐานะผู้เล่นใหม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีทั้งเงินทุน ความเชี่ยวชาญทางด้านการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล รวมไปถึงการที่มีฐานลูกค้าเดิมเป็นจำนวนมาก ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านการมีข้อมูลทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากข้อมูลรายได้

อย่างไรก็ดี ผู้เล่นใหม่คงต้องพิจารณาเงื่อนไขและปัจจัยแวดล้อมหลายๆ ด้านก่อนยื่นขอใบอนุญาต เพราะการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทยไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยผู้เล่นน่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายอีกมาก ทั้งด้านการหารายได้ การบริหารต้นทุนดำเนินการ ความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้ และที่สำคัญคือการแข่งขันกับผู้เล่นอย่างธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมในตลาด ซึ่งได้ทำการพัฒนา Mobile banking ที่ตอบโจทย์การทำธุรกรรมของผู้บริโภคไปมากแล้ว

อีกทั้ง รายได้จากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการเงินก็ลดลงมาก ท่ามกลางการหารายได้จากการปล่อยสินเชื่อที่มีโจทย์เฉพาะที่ท้าทาย โดยเฉพาะในประเด็นการบริหารความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อยกลุ่ม Unserved และ Underserved ตลอดจนการบริหารติดตามและทวงถามหนี้

ขณะที่ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ก็น่าจะคุ้นชินกับการใช้แอปพลิเคชั่น Mobile banking ของธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม ตั้งแต่การทำธุรกรรมถอนเงินไม่ใช้บัตร โอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ไปจนถึงการขอสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชั่น จึงเป็นไปได้ว่าแพลตฟอร์มของธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาอาจไม่ได้สร้างความแตกต่างให้ผู้บริโภคในมุมของการทำธุรกรรมหลัก แต่คาดว่าน่าจะเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกให้ผู้บริโภคในการใช้บริการทางการเงิน หากมีแรงจูงใจในการใช้งานที่มากพอ เช่น มีโปรโมชั่นลดราคาค่าสินค้าและบริการ หรือมีการ์ตูนสีสันสดใสให้เลือกอย่างหลากหลายและสามารถตั้งค่าเป็นธีมการใช้งานของตัวเอง เป็นต้น

แม้ว่าการเกิดธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างให้กลุ่มผู้เล่นรายใหม่ให้สามารถเข้ามาแข่งขันในธุรกิจธนาคารได้ ท่ามกลางการเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอีกมากในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี โมเดลในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทยยังต้องรอการพิสูจน์อีกระยะเวลาหนึ่ง ภายใต้นโยบายการออกใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากทางการ เพื่อให้เข้ากับบริบทและโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคไทย